‘ได้ปริมาณที่มากกว่า
ในคุณภาพที่เท่ากันทุกชิ้นงาน โดยใช้ระยะเวลาการทำงานเท่าเดิม’
นี่คือความสามารถหลักของ ‘ซอฟต์แวร์’
ตัวช่วยให้กระบวนการทำงานของธุรกิจไหลลื่นมากยิ่งขึ้น
และได้ประสิทธิภาพผลงานที่ดีขึ้น
เมื่อธุรกิจเริ่มโต
เป็นเรื่องปกติที่จะคิดหาวิธีปรับกระบวนการทำงาน
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มผลกำไรให้สูงขึ้น การมองหาซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมสำหรับบริษัทเพื่อสร้างโซลูชันที่ดีที่สุดคืนสู่ธุรกิจจึงมีบทบาทสำคัญ
แต่สิ่งที่ยากไปกว่านั้นคือการตัดสินใจว่าซอฟต์แวร์แบบใดดีที่สุดสำหรับลักษณะการดำเนินธุรกิจของคุณ
- Custom Software ซอฟต์แวร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นสําหรับลักษณะงานเฉพาะขององค์กร
- Packaged Software ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป
แต่ไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์ประเภทไหน
ทั้งคู่นั้นก็มีจุดแข็งและจุดอ่อนที่ต่างกัน
คุณควรที่จะพิจารณาแต่ละประเภทอย่างระมัดระวังและเลือกให้ตรงกับความต้องการของธุรกิจ
เพราะผลลัพธ์ของตัดสินใจครั้งนี้จะ ‘ส่งผลต่อธุรกิจในระยะยาว’
เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย
ซอฟต์แวร์แบบไหนที่ตอบโจทย์คุณ
ข้อดีของการใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป
มีสาเหตุหลายประการที่บริษัทของคุณอาจต้องการใช้ซอฟต์แวร์แบบสำเร็จรูปที่มีจำหน่ายทั่วไป
ซึ่งปัจจัยเหล่านี้คือเหตุผลหลักที่บริษัทต่าง ๆ
มักจะเลือกใช้ซอฟต์แวร์แบบสำเร็จรูป
- พร้อมใช้งานได้เลยทันที (Quick Deployment)
จุดขายที่สำคัญของซอฟต์แวร์แบบสำเร็จรูปคือติดตั้งง่าย และพร้อมใช้งานได้เลยทันทีเมื่อคุณชำระเงินเรียบร้อยแล้ว แต่ความรวดเร็วในการนำมาใช้งานจริง ก็ขึ้นอยู่กับความรู้และความชำนาญทางด้านเทคโนโลยีของคุณด้วยส่วนหนึ่ง
- ต้นทุนเริ่มต้นต่ำ (Low Initial Costs)
ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปส่วนใหญ่มักจะมีราคาถูกกว่าซอฟต์แวร์แบบสั่งทำตามลักษณะเฉพาะของงาน เนื่องจากซอฟต์แวร์สำเร็จรูป ถูกพัฒนาขึ้นมาให้ตอบโจทย์การใช้งานของผู้คนจำนวนมาก ส่วนใหญ่ผู้พัฒนาจะดึงดูดผู้ใช้งาน ด้วยการมีฟีเจอร์ที่หลากหลาย แต่หากลองพิจารณาดูอย่างละเอียด คุณจะพบว่า ฟีเจอร์เหล่านั้นไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เข้ากับทุกประเภทธุรกิจ ทำให้บางฟีเจอร์ไม่ได้ถูกนำมาใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
- มีรีวิวให้พิจารณาก่อนซื้อ
(User Reviews)
อีกหนึ่งข้อได้เปรียบของซอฟต์แวร์แบบสำเร็จรูปคือ
มีรีวิวจากผู้ใช้งานจริงให้คุณเลือกพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อมาใช้งาน
โดยคุณสามารถเข้าไปดูว่าผู้คนส่วนใหญ่ชอบซอฟต์แวร์ตัวนี้อย่างไรบ้างและรูปแบบการทำงานของมันเหมาะกับลักษณะธุรกิจของคุณหรือไม่
- ลองก่อนซื้อ (Try Before You Buy)
ต่างจากซอฟต์แวร์แบบสั่งทำตามลักษณะเฉพาะของงานตรงที่คุณสามารถทดลองใช้งานซอฟต์แวร์แบบสำเร็จรูปได้ก่อน ‘แบบฟรี’ เพื่อดูว่าตัวระบบสามารถตอบโจทย์ความต้องการหลักของคุณได้อย่างครบถ้วนหรือไม่ และเมื่อถูกใจ ก็ค่อยชำระเงินกันภายหลัง
- มีช่องทางให้ผู้ใช้งานได้แลกเปลี่ยนความเห็นกัน
(Community
Support)
Community Support จะมีประโยชน์มาก
ในกรณีที่คุณเกิดมีปัญหาขึ้นมาในระหว่างการใช้งานซอฟต์แวร์แบบสำเร็จรูป
เพียงแค่เข้าไปยัง เว็บไซต์ของผู้ให้บริการ
ก็สามารถดูได้ว่าผู้ใช้งานรายอื่นที่มีปัญหาคล้ายกันกับคุณนั้น พวกเขามีแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างไรได้บ้าง
และสามารถทำตามได้เองเลยทันที โดยไม่ต้องรอเจ้าหน้าที่มาคอยให้บริการ
ข้อดีของการใช้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นตามลักษณะเฉพาะของงาน
กล่าวถึงข้อดีของการใช้ซอฟต์แวร์แบบสำเร็จรูปกันไปแล้ว มาดูเหตุผลที่คุณอาจต้องการใช้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นตามลักษณะเฉพาะของงานกันดูบ้าง
- พัฒนาระบบขึ้นมาตามความต้องการของธุรกิจ
(Built for You)
Custom Software นั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ตอบสนองความต้องการของธุรกิจ และออกแบบมาโดยเฉพาะ เพื่อใช้แก้ปัญหาที่ตรงจุด
ตัวอย่าง
Gulf บริษัทผู้ผลิตและพัฒนาพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติและพลังงานหมุนเวียน หนึ่งในลูกค้าของเรา
สำหรับ Gulf แล้ว ผู้ที่บริษัทต้องดีลงานด้วยหรือพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ จะเป็นระดับผู้บริหารที่มีอำนาญในการตัดสินใจ ฉะนั้น ความสามารถในการรับรู้ข้อมูลของอีกฝ่ายได้อย่างละเอียดและแม่นยำ ทั้งชื่อ เบอร์โทร ตารางนัดหมาย เรื่องราวที่เคยเจรจาล่าสุด เป็นสิ่งที่แสดงถึงความใส่ใจ และยังเป็นปัจจัยอันดับต้น ๆ ที่มีส่วนช่วยให้ทุกการเจรจาทางธุรกิจของ Gulf เป็นไปโดยง่าย
InterVision เขียนโปรแกรม สร้างแอปออนไลน์ และออกแบบงานวางระบบภายในองค์กร (Internal Communication) ใช้สำหรับเข้าถึงข้อมูลพาร์ทเนอร์อย่างละเอียด
- ไทม์ไลน์สถานะการดำเนินการของพาร์ทเนอร์แต่ละราย
เพื่อให้รับช่วงต่องานได้อย่างไม่มีสะดุด
- การอัปเดตสถานะการทำงานของบุคคลากรภายในองค์กรได้แบบเรียลไทม์
- ความสามารถในการทำงานได้แบบออนไลน์
ใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือ
- คุ้มค่า (Cost-Effective)
เพราะคุณไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าบริการให้กับฟีเจอร์ที่คุณไม่ได้ใช้งาน แต่จะจ่ายเฉพาะสิ่งที่คุณใช้อยู่เท่านั้น
- สามารถปรับแต่งได้ตามต้องการ (Scablability)
เมื่อธุรกิจของคุณเริ่มโตขึ้น ระบบของคุณจำเป็นต้องขยายความสามารถตามไปพร้อมกันด้วย ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่ใช้งานได้ดีในปัจจุบันอาจไม่ตอบโจทย์กับสไตล์การดำเนินธุรกิจในอนาคต Custom Software สามารถปรับเสริมเติมแต่งให้รองรับและสอดคล้องกับแผนการเติบโตของธุรกิจได้
- การทำงานร่วมกับเครื่องมืออื่น ๆ (Tool Integration)
การเชื่อมต่อ API หรือเครื่องมือเสริมอื่น ๆ เพื่อเพิ่มความสามารถให้ระบบซอฟต์แวร์ของคุณ ปัจจัยนี้เองที่ซอฟต์แวร์แบบที่พัฒนาขึ้นตามลักษณะเฉพาะของงานสามารถทำได้ เพื่อให้คุณยังสามารถใช้งานทุกอย่างได้ในแพลตฟอร์มเดิมที่ธุรกิจมีอยู่แล้ว
- การบริการอย่างต่อเนื่อง (Ongoing Support)
Custom Software มาพร้อมกับการดูแลแบบเฉพาะทาง และการฝึกอบรมเชิงลึก
เพื่อให้มั่นใจว่าทางผู้ใช้งานจะสามารถแก้ไขปัญหาได้เองเมื่อหมดสัญญากับบริษัทผู้พัฒนาระบบไปแล้ว
ซึ่งแตกต่างจากซอฟต์แวร์แบบสำเร็จรูปที่คุณจะได้เพียงคู่มือการใช้งานแบบทั่วไปเท่านั้น
ภาพบรรยากาศการจัดอบรมเพื่อให้ความรู้เชิงลึกการใช้งานระบบซอฟต์แวร์ให้กับ
Ginzy จัดโดย InterVision
เปรียบเทียบข้อเสีย Custom VS Packaged
ข้อเสียของการใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป
มีจุดแข็ง ก็ต้องมีจุดอ่อน
มาดูเหตุผลที่ธุรกิจคุณไม่ควรใช้ซอฟต์แวร์แบบสำเร็จรูป
- ราคาที่สูงขึ้นในภายหลัง
(Higher Prices
Later)
แม้ว่าซอฟต์แวร์แบบสำเร็จรูปมีราคาถูกกว่าในตอนแรก แต่เมื่อเวลาผ่านไป คุณจะได้รับอีเมลค่าใช้บริการแบบรายเดือน ค่าธรรมเนียม หรือการแนะนำฟีเจอร์ใหม่ ให้คุณซื้อเพิ่มเติม นอกจากนี้ ยังมีค่าเสียโอกาสเนื่องจากการไม่ได้เลือกใช้ซอฟต์แวร์แบบที่พัฒนาขึ้นตามลักษณะเฉพาะของงานเพื่อให้ได้ใช้งานฟีเจอร์บางตัวได้อย่างเต็มประสิทธิภาพจริง ๆ
- ขาดการควบคุม (Lack of Control)
ต่อให้คุณพอมีทักษะการเขียนโปรแกรมอยู่บ้าง แต่คุณก็ไม่สามารถแก้ไขปรับโครงสร้างโค้ดของซอฟต์แวร์สำเร็จรูปได้ เหตุผลเพราะคุณไม่ได้เป็นเจ้าของ Source Code
โดยในระหว่างการใช้งาน อาจมีการอัปเดตและการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตามความต้องการของผู้ใช้งานส่วนใหญ่ บริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ต้องปรับเปลี่ยนระบบให้สอดคล้องกับความต้องการของคนจำนวนมากนั้น ซึ่งอาจทำให้ซอฟต์แวร์ที่ถูกอัปเดตไม่ตรงกับความต้องการของคุณอีกต่อไป
- ไม่มีความยืดหยุ่น
(No Flexibility)
ที่เว็บไซต์ของผู้ให้บริการซอฟต์แวร์แบบสำเร็จรูป คุณจะเห็นแพ็คเกจราคาและตารางฟีเจอร์ทั้งหมดที่คุณจะได้รับ ซึ่งหากคุณต้องการฟีเจอร์อะไรที่มากกว่าที่ตารางกำหนด จะต้องเสียค่าบริการเพื่อให้นักพัฒนาเขียนโปรแกรมเพิ่มเติมให้คุณ
- ขาดฟีเจอร์ที่ต้องการใช้งานจริง
ๆ (Lacking
Features)
ซอฟต์แวร์ที่มีจำหน่ายทั่วไปถูกออกแบบมาเพื่อให้ตอบโจทย์กับความต้องการของผู้คนจำนวนมาก ฉะนั้น ไม่ใช่ทุกฟีเจอร์จะเหมาะกับลักษณะการดำเนินธุรกิจของคุณ ซึ่งในบางครั้ง คุณอาจพบว่าตัวเองกำลังใช้ฟีเจอร์หลายตัว เพื่อทำให้เกิดผลลัพธ์ที่คุณต้องการ
ตัวอย่างเช่น
- ระบบโปรโมชั่นแบบ
On Top ได้ในคลิกเดียว เพื่อให้คุณเป็นต่อคู่แข่งทางการตลาด
แต่ถ้าหากใช้โปรแกรมแบบสำเร็จรูป ลูกค้าอาจต้องกดเข้าออก 2 ครั้ง เพื่อให้ได้รับส่วนลดแบบ 2 ต่อ
ซึ่งความยุ่งยากที่เกิดขึ้นนี้ อาจเสียโอกาสได้ยอดขายไป
- ระบบการแจ้งเตือนผ่าน Line ทันที เมื่อมียอดขายทั้งจากหน้าร้านและบนเว็บไซต์ ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูป ในแพ็คเกจฟรี อาจต้องคอยเข้าไปเช็คยอดขายจากระบบหลังบ้าน ทำให้เสียเวลาในการขายสินค้าและในขั้นตอนการเตรียมส่งสินค้า
- ขาดการสนับสนุน
(Lack of
Support)
ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ซอฟต์แวร์บางแพ็คเกจให้มาแค่คู่มือการใช้งานเล่มเดียว ไม่มีบริการการอบรมเพื่อให้ความรู้เชิงลึก เมื่อผู้ใช้งานประสบปัญหาขึ้นมา ก็ไม่สามารถแก้ไขเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง
ข้อเสียของการใช้ซอฟต์แวร์แบบที่พัฒนาขึ้นตามลักษณะเฉพาะของงาน
การใช้ซอฟต์แวร์แบบที่พัฒนาขึ้นตามลักษณะเฉพาะของงาน ก็มีข้อเสียจะต้องทราบไว้เช่นกัน
- มีค่าใช้จ่ายช่วงเริ่มต้นสูง
(Higher Up-Front
Costs)
นอกจากค่าพัฒนาซอฟต์แวร์แล้ว คุณยังมีค่าใช้จ่ายสำหรับเวลาที่ใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้แก่บริษัทผู้พัฒนาด้วย และเมื่อต้องจ่ายทั้งสองปัจจัยควบคู่กัน ทำให้อาจดูเหมือนว่าการเลือกใช้ซอฟต์แวร์แบบที่พัฒนาขึ้นตามลักษณะเฉพาะของงานมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างในช่วงแรก
- ใช้เวลาในการพัฒนาระบบที่นานกว่า
(Longer
Implementation)
หากเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จรูป แค่คุณชำระเงินเสร็จก็สามารถเริ่มต้นใช้งานระบบได้เลยทันที แตกต่างจากซอฟต์แวร์แบบที่พัฒนาขึ้นตามลักษณะเฉพาะของงานที่ต้องใช้เวลาในการพัฒนาและจำเป็นต้องทดสอบระบบก่อนนำไปใช้จริง นอกจากนี้ ยังต้องแบ่งเวลาส่วนหนึ่งสำหรับอบรมการใช้งานให้แก่ผู้รับบริการก่อนส่งมอบอีกด้วย
- ไม่มีให้ลองก่อนซื้อ
(No Try Before
You Buy)
โดยส่วนใหญ่แล้ว คุณจะไม่สามารถรู้ได้เลยการนำซอฟต์แวร์มาใช้ในองค์กรจะเวิร์คแค่ไหน หรือเหมาะกับการดำเนินการภายในของธุรกิจคุณได้พอดีหรือไม่ จนกว่าจะได้ทดสอบระบบที่บริษัทผู้พัฒนาจะเอามาให้คุณได้ทดลองก่อนปล่อยระบบฉบับสมบูรณ์ออกมาให้ใช้งานจริง
- ความไม่พร้อมของบริษัทผู้พัฒนาในช่วงเวลานั้น
(Not Built on
Your Time)
ความหมายคือ ในช่วงเวลาหนึ่งที่ธุรกิจคุณมีแนวความคิดที่ก้าวไกลไปกว่าสิ่งที่เทคโนโลยีของบริษัทผู้พัฒนาจะสร้างให้ได้ พวกเขาต้องใช้เวลาในการหาและรวบรวมทรัพยากรการผลิต อย่างเช่น ความรู้ ทักษะการเขียนโปรแกรม มาเพื่อสร้างสรรค์ไอเดียธุรกิจของคุณให้เป็นจริง ซึ่งก็อาจต้องใช้เวลานานกว่าการผลิตซอฟต์แวร์แบบทั่วไป
- ไม่ค่อยมีรีวิวให้พิจารณาก่อน
(Fewer Reviews)
ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นตามลักษณะเฉพาะของงาน มักมีรีวิวน้อยกว่าซอฟต์แวร์แบบสำเร็จรูป นั่นหมายความว่า ในขั้นตอนการตัดสินใจเลือกว่าระบบซอฟต์แวร์นั่นเวิร์คกับธุรกิจของคุณหรือไม่ ก็จะมีความยากมากขึ้น
ถึงแม้ว่าคุณจะสามารถตรวจสอบชื่อเสียงของบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ได้ แต่ชื่อเสียงเหล่านั้น ก็ไม่ได้การันตีว่าพวกเขาจะสามารถออกแบบ / พัฒนาระบบซอฟต์แวร์ให้ออกมาใช้งานในสถานการณ์จริงได้ดี หรือตรงตามความต้องการของธุรกิจ เมื่อเอาไปเทียบกับคำรีวิวประสบการณ์จากปากผู้ใช้งานจริง
Custom vs. Packaged เลือกแบบไหนดี?
ก่อนที่คุณจะตัดสินใจเลือกซอฟต์แวร์ประเภทไหนดี
มีคำถามหลายข้อที่คุณต้องถามตัวเองให้ได้ก่อน
- ความสามารถในการเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องมืออื่น
ๆ
คุณมีเครื่องมือ / ระบบอะไรที่กำลังใช้งานอยู่แล้วบ้าง? สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนตัดสินใจเลือกซื้อระบบซอฟต์แวร์ตัวใหม่เข้ามาใช้งาน ตามหลักการแล้ว ซอฟต์แวร์ที่ดีต้องสามารถเชื่อมทุกสิ่งเข้าถึงกันได้ และต้องสามารถดึงข้อมูลจากแพลทฟอร์มอื่น ๆ ของคุณได้อย่างรวดเร็ว เพื่อความสะดวกในการใช้งาน
- ความต้องการของคุณคืออะไร?
คุณกำลังพยายามแก้ปัญหาอะไรอยู่
แล้วสาเหตุที่ทำให้คุณต้องมองหาซอฟต์แวร์มาช่วยแก้ปัญหาคืออะไร?
ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ตอนนี้ ธุรกิจอื่น ๆ
ที่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันกับคุณก็กำลังเผชิญอยู่เช่นเดียวกัน
หรือมันเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะองค์กรของคุณรายเดียวเท่านั้น?
สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่คุณต้องพิจารณาเมื่อต้องเลือกระบบซอฟต์แวร์มาใช้
หากความต้องการของคุณค่อนข้างเฉพาะเจาะจง
ซอฟต์แวร์แบบสำเร็จรูปอาจจะไม่ได้มีฟีเจอร์ที่สามารถเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาของคุณได้อย่างตรงจุด
ในขณะที่การใช้ซอฟต์แวร์แบบที่พัฒนาขึ้นตามลักษณะเฉพาะของงาน
คุณสามารถออกแบบเวิร์กโฟลว์และฟีเจอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้รองรับกับความต้องการของคุณได้มากกว่า
- คุณต้องการฟีเจอร์อะไรบ้าง?
สิ่งที่มากับซอฟต์แวร์แบบสำเร็จรูปคือฟีเจอร์ที่หลากหลาย แต่ในขณะเดียวกันก็มีบางเจ้าที่ให้ฟีเจอร์มาน้อยจนไม่ตอบโจทย์ความต้องการ
คุณก็ต้องพิจารณาดูก่อนว่า การลงทุนครั้งนี้ของคุณ จะได้ใช้ทุกฟีเจอร์นั่นอย่างคุ้มค่า หรือใช้งานแค่ไม่กี่ฟีเจอร์
ซึ่งแน่นอนว่าคุณสมบัติหนึ่งที่ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นตามลักษณะเฉพาะของงานให้ได้ คือ การจำกัดสิ่งที่คุณจะได้รับและจำนวนเงินที่คุณจะต้องจ่ายไว้อย่างชัดเจน ความหมายคือ คุณจะได้จ่ายเฉพาะสิ่งที่คุณใช้งานจริงเท่านั้น
ความสามารถของซอฟต์แวร์นั้น ปรับเปลี่ยนได้ตามการขยายขนาดของธุรกิจได้หรือไม่?
การพิจารณานำซอฟต์แวร์ระบบใหม่มาใช้ในองค์กรไม่ใช่งานเล็ก ๆ
คุณต้องจัดอบรมบุคคลากรให้เข้าใจการใช้งานซอฟต์แวร์ ซึ่งแน่นอนว่ามันใช้เวลาจำนวนหนึ่งเลยล่ะ คุณต้องพิจารณาขนาดและการเติบโตของธุรกิจด้วย ซึ่งซอฟต์แวร์ที่นำมาใช้นั้น ต้องสามารถปรับใช้ได้เมื่อขนาดธุรกิจเปลี่ยนไป คุณต้องแน่ใจว่าจะสามารถใช้ซอฟต์แวร์นี้ได้ในระยะยาว
ตัวอย่างเช่น Nitan ร้านตัดเสื้อชุดให้นมบุตร นอกจากออกแบบหน้าเว็บไซต์ให้พร้อมขายสินค้าแบบออนไลน์ได้แล้ว InterVision เราเขียนโปรแกรมรายงานสินค้าคงเหลือเพิ่มไปยังระบบขายสินค้าหน้าร้าน POS ให้สามารถมองเห็นจำนวนสินค้าคงเหลือจากทุกสาขาได้อย่างละเอียดในหน้า Dashboard เดียวNote: คุณเองก็สามารถเข้าไปเว็บไซต์ Nitan ที่เราออกแบบให้ เผื่อเป็นไอเดียในการทำเว็บไซต์สวย ๆ ได้ ที่นี่
เพื่อให้เจ้าของธุรกิจสามารถวางแผนสต็อกได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างเช่น การคาดการณ์จำนวนสินค้าแต่ละล็อตให้พร้อมขาย สอดคล้องกับปริมาณความต้องการได้อย่างเหมาะสม ลดการเกิด Dead Stock รวมไปถึงความสามารถบริหารพื้นที่คลงสินค้าได้ดีขึ้นอีกด้วย หรือการโอนสินค้าจากสาขา A มายังสาขา B ผ่านการตรวจสอบจำนวนสินค้าระหว่างสาขา เพื่อให้การขายสินค้าหน้าร้านเป็นไปอย่างไหลลื่นมากยิ่งขึ้น
สรุป
หลังจากวาดแผนทั้งหมดลงบนกระดาษ
ซอฟต์แวร์แบบที่พัฒนาขึ้นตามลักษณะเฉพาะของงาน
มักให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าซอฟต์แวร์สำเร็จรูป ถึงแม้ต้องลงทุนและเวลามากกว่าในช่วงแรก
แต่ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นตามลักษณะเฉพาะของงานจะคุ้มค่ากว่า
และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าในระยะยาว
ซึ่งถ้าจะให้แนะนำในฐานะของบริษัทผู้พัฒนาระบบซอฟต์แวร์ที่มีประสบการณ์ทางด้านนี้มาโดยเฉพาะและรับฟังปัญหาของผู้ใช้งานส่วนใหญ่มาแล้วมากกว่า 18 ปี
เราแนะนำว่าคุณควรใช้ซอฟต์แวร์แบบสำเร็จรูปแค่ในช่วงแรกของธุรกิจเท่านั้น
เพราะบริษัทที่เพิ่งเริ่มธุรกิจ จะยังไม่มีความรู้ว่า
‘ความต้องการของธุรกิจนั้นมีอะไรบ้าง’
ซอฟต์แวร์แบบสำเร็จรูป
มีราคาที่ต่ำและสามารถนำมาใช้งานได้เลยทันที ซึ่งการได้ทดลองใช้งานฟีเจอร์ต่าง ๆ
ที่มาพร้อมกับซอฟต์แวร์แบบสำเร็จรูป
จะช่วยให้คุณเองเห็นชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่าฟีเจอร์ใดบ้างที่ใช้งานบ่อย
และฟีเจอร์ใดบ้างที่ไม่สามารถให้ผลลัพธ์ตามที่คุณต้องการได้
หลังจากเก็บประสบการณ์
เรียนรู้การแก้ไขกระบวนการทำงาน และค้นหาความต้องการต่าง ๆ อย่างละเอียด
เมื่อธุรกิจคุณเริ่มโตขึ้นไปอีกช่วงเวลาหนึ่ง
คุณจะสามารถเอาประสบการณ์และความรู้ทั้งหมดเหล่านั้นนำมาใช้สร้างซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นตามลักษณะเฉพาะของงาน
ให้มีฟีเจอร์การใช้งานที่ตอบโจทย์ธุรกิจได้อย่างตรงจุดและช่วยคืนผลลัพธ์ให้ธุรกิจได้มากที่สุด
หากคุณมีคำถามใดๆ
เกี่ยวกับซอฟต์แวร์แบบที่พัฒนาขึ้นตามลักษณะเฉพาะของงาน หรือต้องการเพื่อสร้างโซลูชันที่ดีกว่าให้บริษัทคุณเป็นต่อเหนือคู่แข่งทางธุรกิจด้วยการเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด
กรอกแบบฟอร์มพร้อมแจ้งวันกำหนดเสร็จงานที่ต้องการให้เราทราบ ด้านล่างนี้ได้เลย