NEWS & ARTICLES


Digital Transformation คือ? พร้อมตัวอย่างการ Transform ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ

Digital Trend
By Intervision • March 01st 2020
Digital Transformation InterVision Blog 0

คุณเคยเห็นคนที่ทำงานแค่ครึ่งวัน แต่งานที่ได้กลับดียิ่งกว่างานของคนที่ทำทั้งวันทั้งคืนไหม?

จุดเริ่มต้นการเขียนบทความนี้ขึ้นมา เกิดจากการนั่งหาข้อมูลเกี่ยวกับทางรอดธุรกิจในยุค

โควิด-19 ซึ่งแน่นอนว่ามันเป็นวิกฤติเศรษฐกิจแต่ในอีกมุมหนึ่ง โควิด-19 ก็เป็นเหมือนตัวแปรสำคัญที่เร่งปฏิกิริยาการ Disruption ให้เกิดเร็วขึ้น ที่ทำให้การทรานส์ฟอร์มธุรกิจเป็น ทางรอด ไม่ใช่ทางเลือก'

และก็ได้บังเอิญไปเจอบทสัมภาษณ์ของคุณคมสันต์ แซ่ลี เจ้าของสตาร์ทอัพ Flash Express ยูนิคอนรายแรกของประเทศไทย ซึ่ง Business Model มีความน่าสนใจ และได้เห็นการประยุกต์เทคโนโลยีเข้ากับกระบวนการทำงานภายในองค์กร ที่นอกจากช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมให้ดีขึ้นแล้ว ที่สำคัญสุดเลยคือช่วยเพิ่มผลประกอบการเป็นเท่าทวีคูณ’ คืนสู่ธุรกิจได้ด้วย

ซึ่งคิดว่าการมาถ่ายทอดผ่านบทความนี้น่าจะเป็นประโยชน์และเป็นกรณีศึกษาที่ดีแก่เหล่าผู้ประกอบการที่จริงจังกับการเปลี่ยนแปลงธุรกิจของตัวเองให้ทันโลก


Digital Transformation คือ
Digital Transformation คือ การนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาปรับใช้กับธุรกิจ เพื่อให้ก้าวทันกับความต้องการที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค และพาธุรกิจให้อยู่รอดได้ในยุค Digital

โลกนี้กำลังผันเปลี่ยนไปสู่ยุคแห่งดิจิทัลและเทคโนโลยี ดังนั้น โอกาสรอดของธุรกิจคือการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย การเพิ่มตัวเองเข้าไปอยู่ในอีกช่องทางที่ไม่ว่าใครๆ ก็สามารถค้นหาได้อย่าง ง่ายดาย ไม่ว่าที่ไหนหรือเมื่อไหร่ ย่อมเป็นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดสำหรับวิกฤตินี้


ตัวอย่าง ตัวอย่างการทรานฟอร์มธุรกิจ โดยการลงทุนทางด้านซอร์ฟแวร์ และการประยุกต์เทคโนโลยีเข้ากับกระบวนการทำงานภายในองค์กร


บริหารต้นทุนให้ต่ำ ทำงานให้เร็ว และเพิ่มการลงทุนในด้านเทคโนโลยี ให้สามารถใช้บริการได้อย่างไม่สะดุด’

ด้วยแนวคิดดังกล่าว ส่งผลให้ Flash Express คิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีหลายอย่าง มาเพื่อส่งต่อผลลัพท์ไปสู่ลูกค้าทั้ง Online และ Offline ให้สามารถใช้บริการได้อย่างไม่สะดุด ทั้งยังคงประสิทธิภาพสูงสุด

  • ระบบ POI เก็บพิกัดเลขที่บ้าน เพื่อใช้วางแผนเส้นทางการส่งสินค้าได้คล่องขึ้น
    เลขที่บ้านตามทะเบียนราชของประเทศ ไม่ได้เรียงกันอย่างที่ควรจะเป็น ทำให้มีความเข้าใจยากมากที่จะจัดส่งสินค้าตามทะเบียนราช สิ่งที่เราทำคือ ทุกครั้งที่มีการส่งสินค้า เราจะใช้ระบบในการเก็บ POI หรือพิกัดของบ้านแต่ละหลังแบบอัตโนมัติ เพื่อนำข้อมูลมาใช้วางแผนเส้นทาง และจัดส่งสินค้าได้คล่องขึ้น
    ผลลัพธ์ที่ได้คือเดิมทีในระยะทาง 300-400 กม. เราส่งสินค้าได้แค่เพียง 2-3 ชิ้น/วัน
    ปัจจุบัน ในระยะทาง 30-50 กม. เราสามารถส่งสินค้ากว่า 100-400 ชิ้น/วัน
    จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า เราทำงานกันเท่าเดิม แต่ประสิทธิภาพของงานมันดีขึ้น เพราะระยะทางส่งสินค้าสั้นลง แต่ได้ปริมาณการส่งที่เยอะขึ้น
    ซึ่งสถิตินี้อยู่ในที่น่าพอใจแล้ว แต่ในประเทศจีน พวกเขาสามารถจัดส่งสินค้าจำนวนร้อยๆ ชิ้นได้ ในระยะทาง 1-2 กิโลเมตร และนั้นคือเป้าหมายต่อไปของเราในอนาคต
  • การเรียนรู้งานที่สั้น เพื่อให้พร้อมบริการได้เร็วที่สุด
    ในองค์กรของเราจะมีคนเก่งมาก ๆ อยู่ ทีนี้จะทำอย่างไรให้คนอื่น ๆ สามารถทำได้อย่างต้นแบบนี้ ทำอย่างไรให้สิ่งที่เขามี สามารถคัดลอกให้คนทั่วไปสามารถทำตามได้ด้วย เพื่อให้ระบบการทำงานภายในองค์กรเป็นบรรทัดฐานเดียวกันได้ โดยโจทย์คือ การเรียนรู้งานที่สั้นและเร็วที่สุด ซึ่งวิธีการคือ ถ่ายทอดสกิลการทำงาน การแก้ไขปัญหาในสถานการร์ต่าง ๆ และทำออกมาในรูปแบบคลิปวิดิโอให้เรียนรู้ตามได้ การจัดสอบ จำลองเหตุการณ์ เพื่อให้ได้เจอทุกสถานการณ์จากระบบ ก่อนที่จะไปเจอลูกค้า
    ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือ บริษัทสามารถลดระยะเวลาในการเทรนงานให้กับพนักงาน รวมถึงสามารถส่งสื่อนี้ให้พนักงานใหม่ได้ศึกษาการทำงานในช่วงเวลาระหว่างรอเริ่มงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพสูงสุด และภายใน 3 วัน พนักงานใหม่กลุ่มนั้นสามารถเริ่มทำงานได้เลยทันที
  • ลดเวลาการทำงาน เพิ่มปริมาณผลลัพธ์ ด้วยเครื่องจักร
    เดิมที คลังสินค้า 1 แห่ง ต้องใช้พนักงานจำนวน 1,000 คน ในการคัดแยกสินค้า แต่ทันทีที่เราลงทุนกับระบบซอร์ฟแวร์ เครื่องจักร 1 ตัว สามารถคัดแยกสินค้าได้จำนวน 1 แสนชิ้นต่อชั่วโมง และลดปัญหา Human Error ให้น้อยลงได้ด้วย 

จากทั้งหมด คุณน่าจะมองเห็นข้อดีของการใช้เทคโนโลยี้เข้ามาช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น และมีประสิทธิภาพ หลายท่านอาจเริ่มอยากจะปรับ Business Model ใหม่ให้ประสบความสำเร็จอย่างมหาศาลบ้าง ซึ่ง Tools ต่าง ๆ ล้วนเกิดขึ้นจากการสังเกตุเห็นปัญหา และหาซอร์ฟแวร์ / เขียนโปรแกรมเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด
แล้วเราจะสร้างเครื่องมือเหล่านี้อย่างไรได้บ้างบริษัทเขียนโปรแกรม’ จึงเข้ามามีบทบาท และเป็นตัวช่วยในการสร้างสรรค์ให้ทุกไอเดียธุรกิจเป็นจริง

ทีนี้ หลักการเลือกบริษัทมาช่วยเขียนโปรแกรม หรือเข้ามาช่วยพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ให้กับบริษัทของคุณ มีอะไรบ้าง วันนี้เรารวมรวบเทคนิคดี ๆ มาฝากกันค่ะ


หลักการในการเลือกซอฟต์แวร์มาใช้ทำงานให้ธุรกิจ จะต้องพิจารณาในเรื่องใดบ้าง

1. บริการหลักของบริษัทนั้น ตรงกับความต้องการของธุรกิจหรือไม่

โดยสังเกตุได้จาก ในหน้าแรกจะมี Elevator Pitch หรือข้อความสั้น ๆ ที่อธิบายให้คุณเข้าใจว่าพวกเขาให้บริการอะไรเป็นหลัก 

ซึ่งหากบริการนั้นตอบโจทย์กับสิ่งที่คุณกำลังตามหาพอดี ก็สามารถกดเข้าไปอ่านที่รายละเอียดเพิ่มเติม ที่เมนู ‘บริการของเรา’ เพื่ออ่านข้อมูลเชิงลึกอย่างละเอียดดูอีกที

ตัวอย่างหน้าเว็บไซต์ InterVision ที่ยก 3 บริการหลักของเราขึ้นมาให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์มองเห็นเป็นจุดแรกว่า เราคือบริษัทที่ให้บริการรับเขียนโปรแกรม รับขียนเว็บไซต์และรับทำแอปพลิเคชันเป็นหลัก

ซึ่งงานเขียนโปรแกรมจะเหมาะกับกลุ่มธุรกิจที่

  • โปรแกรมสำเร็จรูปไม่ตอบโจทย์กับความต้องการของุรกิจ
  • อยากจ้างพัฒนางานบางส่วนให้สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น และใช้งานง่ายขึ้น
  • มีความต้องการที่แตกต่างจากทั่วไป

ซึ่งหากผู้คนหามีความต้องการโปรแกรมสำเร็จรูป หรือเทมแพลท บริษัทของเราก็อาจไม่ตอบโจทย์กับคนกลุ่มนี้ เป็นต้น


2. การออกแบบ User Interface (UI) หน้าตาของซอฟต์แวร์ดูน่าเชื่อถือหรือไม่
สิ่งที่คุณทำได้อย่างแรกคือดูที่หน้าตาเว็บไซต์ของพวกเขา จากนั้น ดูที่เมนูผลงาน ซึ่งถ้าหาก UI ดูไม่ดี ไม่สะดุดตา ประสบการณ์แรกเริ่มคุณก็ไม่ดีแล้ว คุณก็คงไม่อยากจะเข้าไปใช้ต่อ จริงไหมล่ะ?

และนอกจากหน้าตาที่ดีแล้ว ให้ลองใช้งานระบบดูก่อน หรือ User Experience (UX) คือหลังจากที่คุณถูกใจกับบริการหลัก และเช็คฟีเจอร์หลาย ๆ อย่างแล้วพบว่ามันตรงกับความต้องการของธุรกิจคุณ ลำดับถัดไปคือคุณต้องลองใช้งงานระบบของพวกเขาดูว่า มันใช้เวลาทำความเข้าใจนานไหม ใช้งานง่ายหรือไม่ เพื่อให้คุณมั่นใจได้ว่าซอร์ฟแวร์ที่คุณลงทุนไปนั่น จะเข้ามาช่วยงานมากกว่า “สร้างงาน”

ตัวอย่างที่หน้าผลงานบางส่วนของ InterVision ที่เขียนโปรแกรมที่หลากหลาย และเป็นไปตามจุดประสงค์ของแต่ละประเภทธุรกิจที่แตกต่างกัน คุณสามารถเข้าไปศึกษาปัญหา และแนวทางการแก้ไขของบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ ว่าพวกเขาสามารถแก้ไขปัญหาได้ดีมากแค่ไหน ผลงานเหล่านั้นออกมาน่าพอใจหรือไม่ และมันสามารถนำมาปรับใช้กับธุรกิจของคุณได้บ้างไหม

3. Knowledge Base & Support เป็นอย่างไร

ถ้าคุณใช้งานซอฟต์แวร์อย่างจริงจัง คุณจะต้องมีคำถาม หรือเจอปัญหาระหว่างการใช้งานแน่ๆ
ดังนั้น ก่อนตัดสินใจเลือกบริษัทรับเขียนโปรแกรม ให้คุณลองทดสอบได้จาก

  • ความเร็วในการให้บริการของเจ้าหน้าที่
  • ข้อมูลลที่ได้จากเจ้าหน้าที่ เป็นคำตอบที่ตรงคำถามและช่วยแก้ไขปัญหาที่คุณมีได้อย่างตรงจุดหรือไม่
  • ภาษาที่พวกเขาใช้กับคุณ เป็นศัพท์เทคนิคที่ยากต่อการเข้าใจ จนอาจทำให้คุณได้โปรแกรมที่ไม่ตรงตามต้องการหรือไม่
  • ความสามารถในการวิเคราะห์ความต้องการลูกค้า พวกเขาสามารถให้คำแนะนำ Solution ให้คุณได้ทันที โดยที่คุณอาจยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะเริ่มต้นอย่างไร

ตัวอย่างเช่นที่ Footer ของ InterVision มีช่องทางให้เลือกติดต่อได้อย่างครอบคลุม ทั้งเบอร์โทรติดต่อ อีเมล รวมไปถึงสื่อโซเชียลยอดนิยมต่าง ๆ พร้อมเปิดเผยที่อยู่บริษัทอย่างชัดเจน เพื่อให้คุณมั่นใจได้ว่า เมื่อคุณมีปัญหา คุณจะสามารถติดต่อเราได้ทุกช่องทาง


4. ชื่อเสียง (Reputation) ที่น่าเชื่อถือ
เพราะต้นทุนงานด้านซอฟต์แวร์ค่อนข้างสูง และงานเขียนโปรแกรมเหล่านี้จะถูกนำใช้งานในองค์กรเป็นระยะเวลาหลายปี ความน่าเชื่อถือของบริษัทรับเขียนโปรแกรมจึงเป็นปัจจัยสำคัญ

ถ้าผู้พัฒนาโปรแกรม ไม่มีทีมงานที่เก่งมากพอ โปรแกรมก็จะใช้งานได้ไม่ดี ถ้าจำนวนทีมงานไม่ใหญ่พอ การปล่อยฟีเจอร์ใหม่ ๆ หรือการให้บริการผู้ใช้งานอาจจะไม่รวดเร็ว และถ้าไม่มีผู้ลงทุน ธุรกิจของพวกเขาจะไม่อยู่คอย Support ให้ธุรกิจคุณในระยะยาว

ดังนั้น การเช็คข้อมูลส่วนนี้ ช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่า ในเวลาที่คุณมีปัญหา คุณจะไม่ถูกทิ้งงานระหว่างการใช้งาน


สรุป
Digital Transformation หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับธุรกิจ เพื่อให้ก้าวทันและตอบรับรับความต้องการที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค โดยหัวใจของ Digital Transformation คือ การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้กระบวนการทำงานง่ายขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น

เมื่อคุณสมารถทรานฟอร์มธุรกิจได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากกระบวนทำงานภายในจะดีขึ้นแล้ว ลูกค้าก็จะรู้สึกประทับใจในบริการ และได้รับประสบการณ์ด้านดิจิทัลใหม่ ๆ จากธุรกิจ เพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กับแบรนด์ได้จากการ Agile ที่รวดเร็วทันกระแสโลก ซึ่งหากคุณเป็นเจ้าของกิจการที่ต้องการไปต่อในยุค Digital เราแนะนำให้คุณเริ่มศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังและค่อย ๆ เรียนรู้ เชื่อว่า ลงทุนใน Infrastructure และเทคโนโลยี ถ้าไม่ลงทุนวันนี้ วันหน้าพอมีปริมาณงานที่มากขึ้น เราก็จะกินอาหารได้น้อยลง ‘ลงทุนหวังผลระยะยาว’
เชื่อว่าผู้ที่เข้ามาอ่านในบทความนี้ ต้องมีความสนใจที่จะทรานฟอร์มธุรกิจก่อนอยู่แล้ว เราจึงรวบรวมหลักการเลือกบริษัทเขียนโปรแกรมมาให้คุณได้ลองพิจารณาและเลือกลงทุนไว้ในบทความนี้ด้วยเลย

หากคุณกำลังมองหาบริษัทรับเขียนโปรแกรมให้ตรงกับความต้องการธุรกิจ InterVision ช่วยสร้างสรรค์ทุกไอเดียธุรกิจของคุณให้เป็นจริง ศึกษาบริการอื่นเพิ่มเติม ที่นี่

 

Intervision

บริการต่าง ๆ ที่เรามีให้คุณนำไปใช้ต่อยอดธุรกิจ
ดูบริการทั้งหมด